สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ องค์สุวรรณสาม1

พระสมเด็จ เนื้อทรายทอง องค์สุวรรณสาม พิมพ์เจดีย์

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมแร่ทอง ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย  “ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย “  ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน เขียนไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 ได้กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ” แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก และ ในหน้า 404  กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จจะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม

นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงวรรณะของพระสมเด็จฯ ในหน้า 465  ในข้อ 6. เนื้อพระสีก้านมะลิ  (หริวรรณะ – Emerald green pale) ความจริงยังจัดว่าเป็นวรรณะขาวอยู่ แต่มีแวว วรรณะเขียวอ่อน อย่างเจือจางแฝงอยุ่ คล้ายสีก้านมะลิซีด เป็นวรรณะของเนื้อที่มีความหนึกปานกลาง คือ ไม่แกร่งหรือนุ่มจนเกินไป และจะต้องเป็นเนื้อที่มีผิวฟู อีกทั้งผิวฟูก็จะมีวรรณะเช่นเดียวกับเนื้อโดยทั่วไป แต่อ่อนและซีดกว่าเล็กน้อย เป็นวรรณะของเนื้อที่สะอาดปราศจากสัมผัสใดๆ ถ้าผ่านการชำระล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก วรรณะเขียวอ่อนจะจางหายไปกลายสภาพเป็นวรรณะขาวนวลธรรมดา

และ ในหน้า 460 กล่าวถึงลักษณะของพระสมเด็จเก่าเก็บ คือ พระที่ไม่ได้ใช้ หรือผ่านการสัมผัสจับต้องน้อยที่สุด ผิวเนื้อและวรรณะของพระจะแห้งผาก ไม่สดใส และถ้าเป็นเนื้อหนึกแกร่ง วรรณะจะค่อนข้างขาวนวล และหม่นน้อยๆ หรือ สีก้านมะลิอ่อน

 

พระสมเด็จ เนื้อทรายทอง

องค์สุวรรณสาม 

พิมพ์เจดีย์สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ องค์สุวรรณสาม1 สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ องค์สุวรรณสาม2 สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ องค์สุวรรณสาม3 สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ องค์สุวรรณสาม4

อ้างอิง จากหนังสือพระสมเด็จ 

[คลิ๊ก อ่านข้อความ]

อ้างอิงจากเว็บไซด์หนังสือพิมพ์รายวัน

»กลับไปหน้า สมเด็จวัดระฆัง “ผสมแร่ทองคำนพเก้า บางสะพาน”«


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


02-8533818 , 0908892520