พระสมเด็จองค์พิไชยนิติ
0
ติดต่อเรา
- [email protected]
- Line : postchong.org หรือ @postchong.org (มี@ด้วยนะครับ)
- 02-8533818 , 0908892520
- สำนักงานบริหารมูลนิธิฯ เลขที่ 9/25-27 หมู่บ้านศุภมงคลวิลล์ ถนนหทัยราษฎร์ ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
เงื่อนไข
ทนายพิไชย รัตนธรรม
ผู้บริหารสำนักงานปรึกษาด้านกฏหมายพิไชยนิติ
ผู้ครอบครองพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรายทอง
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมแร่ทอง ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย “ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย “ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน ได้บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ”แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก และ ในหน้า 404 กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จ จะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม
ในหน้า 406 ข้อ 9 กล่าวถึงการลงรักทองเก่า พระสมเด็จฯ มีจำนวนมากพอสมควรทีเดียวที่ได้รับการลงรักเก่าทองเก่า หรือลงรักเก่าไม่ได้ปิดทอง หมายความว่า เป็นรักและทองที่ปิดและลงมาตั้งแต่เดิม หรือในสมัยใกล้เคียงการสร้าง
ก. มูลกรณีการลงรักเก่าทองเก่า สืบเนื่องมาจากคตินิยมโบราณ ในการลงรักปิดทองพระพุทธประติมากรรม โดยถือว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของกรรมวิธีการสร้างพระ ตามอุดมคติที่ว่า พระพุทธฉวีมีวรรณะผุดผ่องดังทองชมพูนุท
รักเก่าน้ำเกลี้ยง เป็นรักเก่าดั้งเดิม ซึ่งเข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ลงไว้ตั้งแต่สมัยการสร้าง การปรากฏตัวของรักเก่าชนิดนี้ จะต้องมีทองฉาบอยู่ข้างหน้าเสมอ เนื้อรักมีสัณฐานเป็นแผ่นบางๆ ลักษณะแห้งเกราะหรือหลุดร่วนหมดยางเหนียวมีวรรณะดำแกมน้ำตาลไหม้ แต่เป็นวรรณะแห้งซีด ไม่สดใส เนื่องจากความเหนียวแน่นมีน้อยมาแต่เดิมและสัณฐานบาง รวมทั้งมีอายุเก่าแก่จึงอาจหลุดลุ่ยออกมาจากผิวเนื้อเป็นหย่อมๆ รักชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดการแตกลายงาอย่างจัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับที่เกิดกับประเภทเนื้อหนึกนุ่มด้วยแล้วเกือบจะไม่แตกลายงาเลย
และ ในหน้า 460 กล่าวถึงลักษณะของพระสมเด็จเก่าเก็บ คือ พระที่ไม่ได้ใช้ หรือผ่านการสัมผัสจับต้องน้อยที่สุด ผิวเนื้อและวรรณะของพระจะแห้งผาก ไม่สดใส
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อทรายทอง องค์พิไชยนิติ
ทนายพิไชย รัตนธรรม ผู้บริหารสำนักงานปรึกษาด้านกฏหมายพิไชยนิติ
ขอขอบคุณ ทนายพิไชย รัตนธรรม ที่ให้การช่วยเหลือและสนับส นุนกิจกรรมของมูลนิธิฯ
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อทรายทอง ลงรักน้ำเกลี้ยง ด้านหน้าจะมีแร่ทองคำกระจาย ทั่วองค์พระ
ด้านหน้าพระสมเด็จฯจะมีแร่ท องกระจายอยู่ทั่วองค์พระ
ด้านหลังองค์พระมีแร่ทองก ระจายอยู่ทั่่ว
บันทึกตำนานโดย “ตรียัมปวาย”
พระสมเด็จเนื้อทรายทอง สมเด็จโต วัดระฆัง
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมแร่ทอง ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย “ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย “ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน ได้บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ”แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก และ ในหน้า 404 กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จ จะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม
และ ในหน้า 460 กล่าวถึงลักษณะของพระสมเด็จเก่าเก็บ คือ พระที่ไม่ได้ใช้ หรือผ่านการสัมผัสจับต้องน้อยที่สุด ผิวเนื้อและวรรณะของพระจะแห้งผาก ไม่สดใส และถ้าเป็นเนื้อหนึกแกร่ง วรรณะจะค่อนข้างขาวนวล และหม่นน้อยๆ
อ้างอิง………หนังสือตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย
อ้างอิงจากเว็บไซด์หนังสือพิมพ์รายวัน
-
http://www.komchadluek.net/detail/20150720/210058.html : พระสมเด็จองค์นพเก้า
-
http://www.komchadluek.net/news/amulets/230327: สมเด็จวัดระฆังแร่ทองบางสะพานอิทธิวัสดุธรรมชาติ
-
http://www.komchadluek.net/detail/20150511/206058.html : พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อทรายทองคำ
- http://www.komchadluek.net/detail/20160516/227663.html : สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใ
หญ่มีแร่ทองบางสะพาน’ ราคา๘๐ล้านบาท++’
ภาพ