“มรดกล้ำค่าทางพุทธศาสนาในแผ่นดินสยาม”
#วิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อมัลลิกา
“วิมานวัตถุ เรื่องวิมานแสดงว่า ใครทำความดีอย่างไร ทำให้ได้วิมานอย่างไร”
“เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ผู้ทรงมีพระกรุณาหาประมาณมิได้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ใช้ข่ายทองวิจิตรบรรจงไปด้วยแก้วมณี ทองคำ และแก้วมุกดา ซึ่งดาดด้วยข่ายทองคำ ห่มคลุมพุทธสรีระ ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์”
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ วิมานวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตร เทพธิดา ถึงอดีตกรรมที่ส่งผลให้ได้ เกิดในวิมานนั้น ๆ มีคำตอบของผู้ถูกถามเป็นราย ๆ ไป
“เครื่องประดับทองของไทย มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ในช่วงแรกได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากอินเดียเมื่อครั้งที่มีการติดต่อค้าขายกัน และได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และฮินดูที่เข้ามาในประเทศไทยผ่านทางอาณาจักรเขมร ต่อมารูปแบบเครื่องประดับได้ถูกผสมผสานเข้ากับศิลปะของคนไทยพื้นเมืองและได้เกิดเป็นรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น เครื่องประดับทองในยุคแรกมุ่งเน้นไปที่ เครื่องราชูปโภค เครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา”
“เครื่องประดับตกแต่งร่างกายหรือเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ที่ปรากฏจากหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมในผืนแผ่นดินไทยเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของราชอาณาจักรสยาม”
“สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 การใช้เครื่องประดับในสมัยนี้ ยังคงสืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยาในทุกๆ ด้าน จนถึงรัชกาลที่ 4 วัฒนธรรมการใช้เครื่องประดับจึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการติดต่อสัมพันธไมตรีกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ท่านเป็นอริยสงฆ์ผู้แตกฉานพระไตรปิฎก เทศนาด้วยคารมกล้าหาญองอาจ บทจะให้ญาติโยมสนุกสนามก็ได้ฮากันตึงๆ และชอบทำเรื่องประหลาดๆให้คนโจษขานเอาไปร่ำลือกัน ได้รับความนับถือเลื่อมใสมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับพระเครื่องพิมพ์สมเด็จของท่าน
ทั้งสององค์ต่างวัย แต่ก็มีความใกล้ชิดสนิทสนม ให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีอัธยาศัยตรงกัน แต่ก็มักจะ “ลองเชิง” กันอยู่เสมอ บางครั้งก็เล่นกันแรงจนถึงขั้นไล่ลงจากธรรมมาสน์ ซ้ำไม่ให้อยู่ในพระราชอาณาจักร แต่ไม่นานความสัมพันธ์ก็กลับคืนอย่างเดิม
เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “รูปหล่อสมเด็จ” ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444[18] ดังความในสำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช 2444 ดังนี้
เมืองสิงหบุรี
วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๐
ถึงกรมหลวงเทวะวงษวโรปการ“……เวลาเช้า ๒ โมงออกจากพลับพลาเมืองอ่างทอง มาจนเวลา ๕ โมงเช้าถึงวัดไชโย ได้แวะขึ้นที่วัด…ในมุขหลังพระอุโบสถรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มีเค้าจำได้ แต่หนุ่มไปกว่าเมื่อเวลาถึงมรณภาพสักหน่อยหนึ่ง…“[19]
https://www.youtube.com/watch? : วิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อมัลลิกา
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9580000128787: สมเด็จพระพุฒาจารย์โต VS สมเด็จพระจอมเกล้าฯ คู่รัก-คู่รสพระธรรม…สวรรคตก็สิ้นสนุก!!!
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8% : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)