บันทึกตำนานโดย “ตรียัมปวาย”
จากหนังสือ “พระสมเด็จฯ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย”
หน้า ๑๗๒ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวรอธิบายว่าเหตุที่พระสมเด็จฯ จะขึ้นชื่อลือกิตติคุณ จนมีผู้นิยมเลื่อมใสกันเป็นอันมากนั้น ก็เนื่องด้วยเมื่อปีระกา (พ.ศ. ๒๔๑๖) หลังจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วได้หนึ่งปี ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเรียกว่า ‘ปีระกาป่วงใหญ่’ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ไปเข้าฝันชาวบางช้างว่า การแก้ไขป่วงครั้งนี้ ให้อาราธนาพระสมเด็จฯ สรงน้ำ ทำประสะน้ำมนต์ จัดดอกไม้ธูปเทียนบูชา แล้วดื่มน้ำมนต์นั้นก็จะหายจากโรคนี้ เรื่องนี้ได้แพร่หลายทั่วไปอย่างกว้างขวาง มีผู้พากันปฏิบัติตามก็ปรากฏผลหายจากโรคระบาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ กิตติศัพท์นี้ได้โจทย์ขานแพร่ไปทั่วทุกหัวระแหง
************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
(ผิวน้ำมันตังอิ้ว)
แบบพิเศษ 1
************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
เนื้อปูนเปลือกหอย
แบบพิเศษ 2
หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ”แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก
************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
ปิดทอง
แบบพิเศษ 3
หน้า 406 กล่าวถึง “แผ่นทองคำเปลว“ ที่ติดองค์พระค่อนข้างจะบริสุทธิ์ แม้อายุกว่าร้อยปี สีทองคำยังเหลืองอร่าม ดูงดงามมาก ถึงแม้ว่าจะมีรอยเหี่ยวย่นและรอยปริแตก สีก็ยังสดใสสวยงามมาก แต่ถ้าส่วนผสมของทองคำเปลวไม่บริสุทธิ์ผสมด้วยตะกั่วเมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมองคล้ำลงจนเกือบดำเห็นเป็นประกายสีทองคำเล็กน้อยเท่านั้น
************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
ปิดทองลงกรุ
แบบ A-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ปิดทองลงกรุ A-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ปิดทองลงกรุ A-1
****************************
หน้า ๑๖๑ พระเทพญาณเวที เล่าตามที่ได้รับความรู้จาก พระธรรมถาวร ว่า : “เจ้าพระคุณสมเด็จฯ รับเป็นภาระปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วัดใหม่อมตรส ขณะปฏิสังขรณ์นั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯมาจำวัดที่วัดใหม่อมตรส แล้วนำเอาพระสมเด็จจากวัดระฆังฯ มา ๔ บาตร ประดิษฐานไว้บนเพดานพระอุโบสถที่ปฏิสังขรณ์นั้น และในระหว่างนั้น เจ้ากรมท่าซ้ายได้ขอแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ เพื่อจะเอาไปสร้างพระ บรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดใหม่อมตรสนี้”
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
(ลุงพุฒิ) ปิดทองลงกรุ
แบบ A-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ (ลุงพุฒิ) ปิดทองลงกรุ A-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ลุงพุฒิ) ปิดทองลงกรุ A-2
****************************
หน้า ๑๔๕ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) เนื้อชนิดนี้เท่าที่สืบทราบไว้ คือ พระอาจารย์ขวัญ กล่าวว่าได้ทราบจากพระธรรมถาวร อาจารย์ของท่านว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เคยสร้างพระสมเเด็จฯ เนื้อชนิดนี้เหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเป็นการสิ้นเปลืองผงใบลานมาก โดยปกติแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะใช้ผงใบลานเผา ซึ่งเกิดจากการเผาแผ่นใบลานที่ท่านได้จารอักขระและสูตรทางพุทธมนต์เจือผสมกับเนื้อขาวธรรมดาเท่านั้น
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
(อกวี) เนื้อผงใบลานเผา (สมเด็จดำ)
แบบ B-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (สมเด็จดำ) B-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (สมเด็จดำ) B-1
****************************
พระสมเด็จดำ (ผงถ่านแม่พิมพ์)
แบบ B-1.1
แม่พิมพ์ที่ชำรุดแตกหักนำไปเผาไฟ จนกลายเป็นถ่าน แล้วนำมาตำให้ละเอียดมาผสมกับผงวิเศษทั้ง ๕ มี (ผงปัตถมัง ผงอิธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช และผงพุทธคุณ) แล้วนำมาผสมกับข้าวสุก และมวลสารอื่นๆ โดยใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสานเนื้อ เมื่อพระแห้งดี จะออกสีดำ หรือสีดำอมเทา ถ้าพระองค์ใดผสมผงใบราณลงไปด้วยก็จะเกิดคราบไขขึ้นตามซอก พระเนื้อผงถ่านนี้มีจำนวนการสร้างไม่มากนัก ทำตามจำนวนแม่พิมพ์ที่ชำรุด พระเนื้อนี้ให้คุณทางเมตตา มหาอำนาจ แคล้วคลาด โดยเฉพาะคงกระพัน
พระสมเด็จดำ (ผงถ่านแม่พิมพ์) B-1.1 (ภาพประกอบ)
พระสมเด็จดำ (ผงถ่านแม่พิมพ์) B-1.1
****************************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
(อกกระบอก) เนื้อผงใบลานเผา (ดำ)
แบบ B-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) B-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) B-2
****************************
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่
เนื้อผงใบลานเผา (ดำ)
แบบ B-2.1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) B-2.1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) B-2.1
****************************
เนื้อผงใบลานเผา
สมเด็จดำ ทรายทอง
แบบ B-3
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) แร่ทรายทอง B-3
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) แร่ทรายทอง B-3
****************************
หน้า ๑๔๖ “หนังสือที่ท่านจารคืออักระเลขยันต์ทางพุทธาคม พอมากๆเข้าท่านก็หอบเอาใบลานที่จารเหล่านั้นมากองสุมไฟเสียคราวหนึ่งแล้วเก็บเอาขี้เถ้าใบลานเผานั้นไว้ ในตอนนั้นใครๆ เขาพากันว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ บ้าเสียแล้ว แต่ท่านเก็บผงใบลานเผานั้นไว้บดผสมกับสิ่งอื่นๆ สร้างเป็นพระสมเด็จฯดำขึ้น และเจอผสมเนื้อขาวสร้าง พระสมเด็จฯ เนื้อขาว ขึ้นมากมาย แต่สมัยนั้นไม่ใคร่มีใครสนใจพระสมเด็จฯกันนัก เด็กที่มาช่วยตำผง ท่านก็แจกให้คนละองค์ พร้อมกับบอกว่า เอ้า! อ้ายหนู เอาพระไว้กันหมามันกัด”
พระสมเด็จฯ
เนื้อผงใบลานเผา (สมเด็จดำ)
พิมพ์กลักไม้ขีด (ขนาดหนา) แบบ B-4
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) กลักไม้ขีด B-4
เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) กลักไม้ขีด (ด้านข้าง หนากว่าปรกติ 2-3 เท่า) B-4
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงใบลานเผา (ดำ) กลักไม้ขีด B-4
“พระสมเด็จฯ เนื้อผงใบลานเผาสีดำที่ท่านสร้างขึ้นนั้น โยมเล่าว่า พิมพ์ด้วยแม่พิมพ์หินมีดโกน พิมพ์ได้ครั้งละองค์ พิมพ์แล้วท่านก็ตากไว้ในกระด้ง พอแห้งดีแล้วท่านก็เก็บใส่ย่ามละว้าใหญ่ของท่าน แล้วเอาไว้แจกชาวบ้าน และที่เหลือไม่ทราบว่าท่านเอาไปไว้ที่ไหนหมด”
****************************
พระสมเด็จฯ
สมเด็จขาว พิมพ์กลักไม้ขีด (ขนาดหนา)
เนื้อผงพุทธคุณ แบบ B-5
สมเด็จขาว เนื้อผงพุทธคุณ กลักไม้ขีด B-5
เนื้อผงพุทธคุณ กลักไม้ขีด (ด้านข้าง หนากว่าปรกติ 2-3 เท่า) B-5
เนื้อผงพุทธคุณ กลักไม้ขีด B-5
****************************
ในหน้า 466 ในข้อ 12. เนื้อพระสีพิกุลแห้ง ( เมจกวรรณะ – Burnt siena white ) เป็นวรรณะที่กระเดียดมาทางน้ำตาลคล้ำอ่อน เจือด้วยวรรณะมอนวล จะมีผิวแป้งโรยพิมพ์นวลเป็นฝ้าบางๆ จับอยู่ภายนอก
พระสมเด็จ
พิมพ์ใหญ่ เนื้อสีพิกุลแห้ง
แบบ C-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ( เนื้อสีพิกุลแห้ง) C-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ( เนื้อสีพิกุลแห้ง) C-1
****************************
หน้า 420 กล่าวถึงเนื้อกระแจะจันทร์ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับเนื้อเกสรดอกไม้และก็มิได้หมายถึงเป็นเนื้อที่เตรียมมาจากแป้งกระแจะจันทร์ แต่เป็นเนื้อที่ค่อนข้างละเอียดและกอปรด้วยอิทธิวัสดุวรรณะหม่นคล้ำผสมอยู่มาก ทำนองลักษณะของแป้งกระแจะจันทร์ซึ่งปรุงด้วยผงไม้หอมหลากหลายชนิดจึงมีวรรณะหม่นคล้ำกว่าแป้งธรรมดา
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังเรียบ)
แบบ D-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังเรียบ) D-1)
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังเรียบ) D-1 )
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังสังขยา)
แบบ D-2
หน้า 459 กล่าวถึง “ริ้วรอยธรรมชาติ” เป็นรอยย่นของผิวเนื้อโดยทั่วไปตลอดด้านหลัง ริ้วรอยเหล่านี้ค่อนข้างละเอียดและตื้น องค์พระที่ลงรักมาแต่เดิม ในขณะที่เนื้อพระยังไม่แห้งสนิท ครั้นเมื่อเนื้อยุบตัวแห้งสนิทจึงเกิดปฏิกิริยาโดยทั่วไปของผิวเนื้อ เป็นแรงดึงในการยุบตัวนั้น แต่เนื้อรักที่ฉาบผิวเนื้อแน่นอยู่ใช้เวลานานกว่าในการที่จะแห้งสนิท ดังนั้นจึงเกิดแรงดึงขึ้นโดยทั่วไปตามผิวเนื้อ และเกิดริ้วรอยธรรมชาติดังกล่าวขึ้น
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังสังขยา) D-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อกระแจะจันทร์ (หลังสังขยา) D-2
****************************
พระสมเด็จ
พิมพ์ใหญ่ เนื้อแตกลายงา
แบบ E-1
หน้า 413 กล่าวถึง การแตกลายสังคโลก เกิดจากการยุบตัวแห้งสนิทของเนื้อแต่ประการเดียว เป็นปฎิกริยาอันเกิดจากความแกร่งตัวของปูนขาวในเนื้อ ซึ่งแต่ก่อนถึงกับแตกรานเสียหาย ครั้นเมื่อได้ผสมน้ำมันตังอิวลงไปจึงช่วยคงสภาพไว้ได้ แต่ยังปรากฏปฏิกิริยาหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อยคือการแตกสลายสังคโลกนี้ ส่วนมากจะเป็นประเภทเนื้อหนึกแกร่ง เพราะการยุบตัวของปูนของมีมาก ประเภทเนื้อหนึกแกร่งจะกลายเป็นสังคโลกเป็นตารางหรือเกล็ดขนาดย่อมๆ ลักษณะคล้ายตารางสี่เหลี่ยมร่องเลขาค่อนข้างลึก การแตกลายสังคโลกคงปรากฏเฉพาะทางด้านหน้าเช่นเดียวกับการแตกลายงาเพราะเกิดจากปฏิกิริยาภายใน เนื่องจากการยุบตัวของเนื้อและสัณฐานลักษณะของด้านหน้าเช่นเดียวกัน
-
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ( เนื้อแตกลายงา ) E-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ( เนื้อแตกลายงา ) E-1
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
ทรายทอง
แบบ F-1
พระสมเด็จ ผสมแร่ทอง ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน ได้บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ”แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก
ด้านหน้าขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่ทั่ว F-1
ด้านหลังขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่ทั่ว F-1
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ฐานแซม
ทรายทอง
แบบ F-2
และ ในหน้า 404 กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จ จะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม
ด้านหน้าขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่ทั่ว F-2
ด้านหลังขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่ทั่ว F-2
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
(อกวี) เนื้อปูนแกร่ง
แบบ G-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ (เนื้อปูนแกร่ง) G-1)
หน้า 428 กล่าวถึง เนื้อที่กอปรด้วยมวลสารของปูนขาวมากที่สุดและมีความแกร่งจัดที่สุดด้วย ลักษณะของผิวเนื้อราบเรียบและหนาเป็นสภาพของผิวปูนขาวที่แข็งตัวจับกันแน่น เมื่อกลายจากของเหลวมาเป็นของเเข็ง ฉะนั้นจึงมีชื่อว่า “เนื้อปูนแกร่ง”
ด้านหลังพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ (เนื้อปูนแกร่ง) G-1
หน้า 429 เนื้อปูนแกร่งเป็นเนื้อที่มีความแกร่งจัดที่สุด ความหนึกแกร่งสมบูรณ์ การแตกลายงาอย่างจัดและตารางเกล็ดขาวสะอาด ความซึ้งเกิดจากวรรณะอันขาวสะอาดและเงาสว่างสดใส การแตกลายสังคโลกชัดลึก
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
(อกวี) เนื้อสีมะกอกสุก
แบบ G-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ (สีมะกอกสุก) G-2
หน้า 466 กล่าวว่า สีมะกอกสุก (ศยาวรรณะ-Yellow ochre) เป็นวรรณะที่ค่อนข้างคล้ำสักเล็กน้อย อันเกิดจากวรรณะหม่นคล้ำของมวลสารประเภทอิทธิวัสดุ จัดว่าเป็นวรรณะของเนื้อที่มีความซึ้งจัด
ด้านหลังพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ (สีมะกอกสุก) G-2
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
เนื้อขนมตุ้บตั้บ (กรอบกระจก)
แบบ G-3
หน้า 426 กล่าวว่าเนื้อขนมตุ้บตั้บ ความหมายของนามเนื้อประเภทนี้ คงทำนองเดียวกับเนื้อกระยาสารท คือ หมายถึงเนื้อที่มีมวลสารค่อนข้างหยาบหรือคลุ้กเคล้ากันในลักษณะหยาบๆ ไม่สมัครสมานเข้ากันสนิท ทำให้เห็นลักษณะของเนื้อวัสดุหลายอย่างรวมกันอยู่เป็นหย่อมๆ ทำนองเดียวกันกับขนมตุ้บตั๊บซึ่งมีเนื้อหยาบเคล้าคละกัน ฉะนั้นจึงเรียกว่า “เนื้อขนมตุ้บตั้บ”
ความซึ้ง เป็นความซึ้งซึ่งเกิดจากกอนุภาควรรณะหม่นคล้ำของอิทธิวัสดุกับสารปูนขาวผสมเถ้าธูปวรรณะขาวขุ่นแกมเทาสวาทอ่อนคล้ายสีน้ำข้าวเจือเทาอ่อนรวมกันเป็นหย่อมๆ และลึกลงไปภายในเนื้อ และถ้าเป็นเนื้อแตกลายงาก็จะกลายเป็นความซึ้งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมักจะมีเมล็ดใบลานเผากระจายอยู่บางๆทั่วไป
****************************
พระสมเด็จ
เนื้อขนมตุ้บตั้บ (เส้นใต้ตัก)
แบบ G-3.1
พระสมเด็จฯ เนื้อขนมตุ้บตั้บ (เส้นใต้ตัก) แบบ G-3.1
พระสมเด็จฯ เนื้อขนมตุ้บตั้บ (เส้นใต้ตัก) แบบ G-3.1
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ฐานแซม
เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ
แบบ H-1
พระสมเด็จฯ พิมพ์ฐานแซม (เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ) H-1
๕) ความฉ่ำ เนื่องจากผิวเนื้วอแกกร่งและราบเรียบ มักจะเกิดเงาสว่างตามธรมชาติจากการสัมผัสเสียดสีต่างๆ จึงเป็นความฉ่ำที่สดใสของผิวเนื่องจากเงาสง่าง และเกิดมิติที่สามของเนื้ออีกด้วย
พระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซม (เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ) H-1
****************************
พระสมเด็จ พิมพ์ฐานแซม
เนื้อสีลาน
แบบ H-2
พระสมเด็จฯ พิมพ์ฐานแซม (เนื้อสีลาน) H-2
หน้า 465 กล่าวว่า เนื้อสีลาน (ปัณฑวรรณะ- aple yellow) เป็นวรรณะขาวอมเหลืองหม่นอ่อนๆ แก่กว่าวรรณะสีงาช้างเล็กน้อย หรือคล้ายสีใบลานมากที่สุด แต่ก็ยังอ่อนซีดกว่า
ด้านหลังพระสมเด็จฯ พิมพ์ฐานแซม (เนื้อสีลาน) H-2
****************************
ตีโจทย์พระให้แตก ด้วยการใช้ประสบการณ์ และปัญญา
ก็อาจได้พระที่ใครๆว่าสูงเกินจะไขว่คว้า…มาเป็นเจ้าของได้ โดยไม่ต้องใช้เงินแบบเจ้าสัว
ตาดี มีศรัทธา พระแท้จะมาโปรดถึงมือ
****************************
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี มูลนิธิโพชฌงค์ธรรมสถาน ธนาคารกรุงไทย สาขาบิ๊กซี สายไหม
เลขบัญชีเลขที่ 982-9-99832-0
แจ้งชื่อ และ ที่อยู่พร้อมส่งสำเนาใบฝากเงินธนาคารทาง
Line : @postchong.org (มี@ด้วย)
เพื่อที่มูลนิธิฯจะได้จัดส่งพระสมเด็จไปยังท่านภายใน ๓ วัน
หมายเหตุ : ค่าวัสดุภัณ์ พร้อมส่งทางไปรษณีย์ EMS 100 บาท หรือ มารับด้วยตนเอง ณ ที่ทำการมูลนิธิฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริหารมูลนิธิฯ โทร. 02-8533818 หรือ 090-8892520
อ้างอิงจากหนังสือสมเด็จฯ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ โดย ตรียัมปวาย หน้า ๑๔๕, ๑๔๖, ๑๖๐, ๑๖๑, ๑๗๒,๔๑๓, ๔๒๐, ๔๖๖
ข้อมูลจากเวปไซด์ข้างล่างที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาเรื่องพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นดุลพินิจในการพิจารณาอีกทางหนึ่ง (ขอขอบคุณท่านเจ้าของเว็ปไซด์ และผู้เขียนมา ณ โอกาสนี้)
หมายเหตุ กรุณาศึกษาข้อมูลจากเวปไซด์ และค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จฯ และใช้ดุลพินิจส่วนตนในการพิจารณาก่อนตัดสินใจ
***************************
***************************
พระกริ่งปวเรศ
ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์ว่า พระกริ่งที่สร้างขึ้นทุกองค์เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตทั้งสิ้น และความเชื่อที่ว่าพระไภษัชยคุรุนั้น มีอำนาจพุทธานุภาพทำให้ผู้ที่บูชาหายจากความเจ็บป่วยไข้และพ้นภัยจากอันตรายทั้งปวง
พระกริ่งปวเรศ
มหาเศรษฐี สัมฤทธิ์เดช
แบบ A-1
เนื้อสัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์ (เนื้อเก้า) มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด มีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำดำสนิทคล้ายนิลดำ เรียกกันว่า “สัมฤทธิ์เนื้อกลับ” โบราณถือ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ มีอำนาจพุทธคุณด้านมหาอำนาจ โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดและป้องกันภัยอันตรายตลอดจนบำบัดโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิด
พระกริ่งปวเรศ
มหาเศรษฐี สัมฤทธิ์ผล
แบบ A-2
สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง “สีแดง” หรือตรีโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ ๓ ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม
พระกริ่งปวเรศ
บารมีแผ่ไพศาล สัมฤทธิ์เดช
แบบ B-1
พุทธคุณอันล้ำเลิศของพระกริ่งปวเรศฯ จะเป็นที่กล่าวขานกันมากในด้านการรักษา โรค เพราะคำว่า “พระไภษัชครุ” นั้นแปลว่าผู้เป็นเลิศทางรักษาโรค มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระวนรัต (แดง) อาพาธเป็นโรคอหิวาต์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรม หลวงวชิรญาณวงศ์เสด็จไปทรงเยี่ยม และทรงนำพระกริ่งปวเรศฯ มาทำน้ำพระพุทธมนต์ ให้ฉันปรากฏว่าสมเด็จพระวนรัตมีอาการดีขึ้นๆ และหายเป็นปกติในที่สุดอาจด้วย มูลเหตุนี้เอง ทำให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งประทับอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเกิดความสนพระทัย
พระกริ่งปวเรศ
บารมีแผ่ไพศาล สัมฤทธิ์ผล
แบบ B-2
การสร้างพระกริ่งที่เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตขนาดเล็กขึ้นเพื่ออาศัยบารมีของพระไภษัชยคุรุนี้ ช่วยขจัดภยันตรายต่างๆและให้ผู้ที่พกพาติดตัวระหว่างเดินทางปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงจากที่พกติดตัว จึงเป็นมูลเหตุที่สำคัญในการนับถือพระกริ่งเป็นเสมือนเครื่องรางและนำติดตัว
พระกริ่งปวเรศ
สมบูรณ์พูนสุข สัมฤทธิ์เดช
แบบ C-1
“พระกริ่งปวเรศ เนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศจะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน (เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน(พลวง) เหล็กละลายตัว ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี”
พระกริ่งปวเรศ
สมบูรณ์พูนสุข สัมฤทธิ์ผล
แบบ C-2
สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงกลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
พระกริ่งปวเรศ
มหาบารมี สัมฤทธิ์เดช
แบบ D
ท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ได้กล่าวถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศไว้ดังนี้ “พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณเขานิยมกันนั้น มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศจะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน
พระกริ่งปวเรศ (น้อย)
เนื้อโลหะทอง (พิมพ์เล็ก)
แบบ E
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว
พระกริ่งชินบัญชร สมเด็จโต
พิมพ์ปวเรศ สัมฤทธิ์โชค
แบบ F-1
เนื้อสัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์ (เนื้อห้า) ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ มีอำนาจพุทธคุณด้านมหาอำนาจ โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดและป้องกันภัยอันตรายตลอดจนบำบัดโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิด
พระกริ่งชินบัญชร สมเด็จโต
พิมพ์ขรัวโต สัมฤทธิ์โชค
แบบ F-2
อาราธนาทำ น้ำมนต์ เมื่อเวลาเรารู้สึกดวงไม่ดี มีเคราะห์ หรือเจ็บป่วย นำพระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่ง (องค์แทนพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสพุทธเจ้า) อาราธนาบารมีของพระองค์ท่านทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่ม รด อาบ กินเพื่อความสวัสดี มีชัยปราศจากโรคภัยและกำจัดปัดเป่าอัปมงคล อันตราย ภัยพิบัติต่างๆ
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี มูลนิธิโพชฌงค์ธรรมสถาน ธนาคารกรุงไทย สาขาบิ๊กซี สายไหม
เลขบัญชีเลขที่ 982-9-99832-0
แจ้งชื่อ และ ที่อยู่พร้อมส่งสำเนาใบฝากเงินธนาคารทาง
Line : @postchong.org (มี@ด้วย)
เพื่อที่มูลนิธิฯจะได้จัดส่งพระกริ่งปวเรศไปยังท่านภายใน 3 วัน
หมายเหตุ : ค่าวัสดุภัณ์ พร้อมจัดส่ง100 บาท หรือ มารับด้วยตนเอง ณ ที่ทำการมูลนิธิฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริหารมูลนิธิฯ โทร. 02-8533818 หรือ 090-8892520
ตำนาน
พระกริ่งปวเรศ – วิกิพีเดีย
เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์โปรดให้พระยาเวียงในนฤบาลสร้างขึ้น มีพระพุทธรูปลักษณะ ปางหมอยา เป็นชื่อเรียกพระกริ่งที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. 2382 – พ.ศ. 2434 ในอาณาจักรพระเครื่องรางที่นับถือว่ามีอานุภาพขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักนิยมพระเครื่องตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 สืบมาถึงปัจจุบัน มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในประเภทพระโลหะ การสร้างมีพิธีพระพุทธาภิเษก และมีพิธีโหร พิธีพราหมณ์ และพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพเทวาพระเบื้องบนมาช่วยร่วมพิธีกรรมต่างๆ
พระกริ่งปวเรศ เป็น พระกริ่งรุ่นแรก ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะพระกริ่ง ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลายได้รับความนิยม ศรัทธา สูงสุดในวงการซื้อขายที่ถือเป็นสุดยอดพระกริ่ง การสร้างเป็นพิธีกรรมของราชสำนัก บุคคลทั่วๆไปย่อมไม่มีโอกาสได้พบเห็น จำนวนการสร้างเกือบทั้งหมดบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัด จึงถือเป็นของหายาก และเป็นที่สุดของพระกริ่งปวเรศ
พระกริ่งในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มสร้างที่มีความโดดเด่นมากในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2382 จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคเริ่มบุกเบิกและมีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด พระกริ่งปวเรศเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ 5 พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต
ศึกษาข้อมูลจากเวปไซด์ข้างล่างที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาเรื่องพระพระกริ่งปวเรศ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นดุลพินิจในการพิจารณาอีกทางหนึ่ง (ขอขอบคุณผู้เขียนมา ณ โอกาสนี้)
ข้อมูล : จากเว็บไซด์
-
https://th.wikipedia.org/wiki/พระกริ่งปวเรศ
-
https://www.youtube.com/watch?v=OmO0Dyx0ZPY / คนแห่เก็บพระกริ่ง ตระกูลปวเรศ จักรพรรดิแห่งพระกริ่งสยาม