เปิดพินัยกรรมพระสมเด็จ

1

พระสมเด็จเนื้อทรายทอง  ( พิมพ์ใหญ่)

2

       รูปภาพพระสมเด็จที่นำมาเป็นภาพประกอบนั้น ด้านหน้าขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่ทั่ว

 บันทึกตำนานโดย “ตรียัมปวาย”

  พระสมเด็จเนื้อทรายทองคำ สมเด็จโต วัดระฆัง

                   พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมแร่ทอง ซึ่งในตำราพระสมเด็จฯ เขียนโดยตรียัมปวาย  “ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย “  ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันของผู้ทำการศึกษาพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในปัจจุบัน ได้บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. 2495 กล่าวถึงส่วนผสมสำคัญของเนื้อพระสมเด็จที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ใช้เป็นส่วนผสมในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ หน้า 390 ว่า คือ ” ผงตะไบของแผ่นทอง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ ด้วยพระยันต์ 108 ” แล้วนำมาผสมลงในเนื้อพระ จัดว่าเป็นอิทธิวัสดุ อีกทั้งเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและความซึ้งของเนื้อขึ้นอีก และ ในหน้า 404  กล่าวถึงการใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อพระสมเด็จ จะปรากฏเกล็ดทรายทองทอประกายสะท้อนแสงวาบวับ บางองค์จะปรากฏเป็นเกล็ดสัณฐานเขื่อง ประมาณ 1 ใน 4 ของหัวเข็มหมุดขนาดย่อม
                    นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงวรรณะของพระสมเด็จฯ ในหน้า 464 ในข้อ 3. เนื้อพระสีงาช้าง (วิสาณวรรณะ – Ivory white) เป็นวรรณะขาวอมเหลืองหม่นอ่อนนวล คล้ายสีงาช้าง เป็นวรรณะที่ปรากฏโดยทั่วไปของเนื้อพระสมเด็จฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเภทเนื้อหนึกนุ่ม เช่น เนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อปูนนุ่ม ที่ผ่านสัมผัสมาบ้าง หรือแม้กระทั่งองค์ที่ปราศจากสัมผัสก็ตาม
                    และ ในหน้า 460 กล่าวถึงลักษณะของพระสมเด็จเก่าเก็บ คือ พระที่ไม่ได้ใช้ หรือผ่านการสัมผัสจับต้องน้อยที่สุด ผิวเนื้อและวรรณะของพระจะแห้งผาก ไม่สดใส และถ้าเป็นเนื้อหนึกแกร่ง วรรณะจะค่อนข้างขาวนวล และหม่นน้อยๆ

3

 พระสมเด็จเนื้อทรายทอง พิมพ์ใหญ่ (อกกระบอกใหญ่)

4

 รูปภาพประกอบพระสมเด็จ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่โดยทั่ว

             นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงมูลสูตรลักษณะและจำแนกพิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ ” พิมพ์ทรงพระประธาน” ในหน้า 240 – 241 ในข้อ
ข) พระศิระและวงพระพักตร์แบบผลมะตูม จัดเป็นแบบที่งดงามและเด่นชัดที่สุด องค์ที่คมชัดจริงๆจะปรากฏร่องรอยของพระเนตร
ค) พระกรรณ ถ้าพลิกดูทางด้านข้างจะปรากฏฐานพระกรรณเป็นเค้าต่อเชื่อมจากกรอบพระพักตร์ลงมามีส่วนหนารางๆและกลืนหายลงไปกับพื้นผนังคุหาทางด้านข้างใบพระกรรณ
            และในหน้า 245 กล่าวถึงการจำแนก แบบพระอาสนะ แบบแซม ว่า ฐานทั้งสามมีความหนานูนมาก และเว้นช่องไฟระหว่างชั้นค่อนข้างแน่นทึบกว่าแบบอื่น ปรากฏเส้นขีดแซมบางๆ เป็นทิวขึ้นมา 2 เส้น คือระหว่างพระเพลากับฐานชั้นบน เส้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นนิสีทนะ และระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง ทำหน้าที่เป็นบัวลูกแก้วอีกเส้นหนึ่ง

5

พระสมเด็จเนื้อทรายทองพิมพ์ใหญ่ (ฐานแซม)

6

 รูปภาพประกอบพระสมเด็จ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีเนื้อแร่ทองกระจายอยู่โดยทั่ว
               นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงวรรณะของพระสมเด็จฯ ในหน้า 466  ในข้อ 12. เนื้อพระสีพิกุลแห้ง      (เมจกวรรณะ – Burnt siena white ) เป็นวรรณะที่กระเดียดมาทางน้ำตาลคล้ำอ่อน เจือด้วยวรรณะมอนวล จะมีผิวแป้งโรยพิมพ์นวลเป็นฝ้าบางๆ จับอยู่ภายนอก

อ้างอิง………หนังสือตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย

 


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


02-8533818 , 0908892520